สถิติ
เปิดเมื่อ16/03/2013
อัพเดท3/04/2013
ผู้เข้าชม267987
แสดงหน้า347985
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 


อ้อย2พันธุ์ใหม่...เหมาะป้อนโรงงานน้ำตาล

อ่าน 3921 | ตอบ 1
ถึงแม้ ประเทศไทย จะมีศักยภาพการผลิต ?อ้อย? สูง และมีโรงงานผลิตน้ำตาลที่ทันสมัยระดับโลก แต่ปัจจุบันผลผลิตอ้อยของไทยยังค่อนข้างต่ำ เฉลี่ยประมาณ 11.26 ตันต่อไร่ ซึ่งต่ำกว่าคู่แข่งอย่าง บราซิลที่ได้ผลผลิต 12.67 ตันต่อไร่ และ ออสเตรเลีย 12.43 ตันต่อไร่ อย่างไรก็ตาม ล่าสุด ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร สุพรรณบุรี  กรมวิชาการเกษตรได้ปรับปรุง พันธุ์อ้อยพันธุ์ใหม่ สำเร็จเพิ่มอีก 2 พันธุ์ มี จุดเด่น ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงทั้งน้ำหนักและน้ำตาล คาดว่า น่าจะเป็นทางเลือกใหม่สำหรับเกษตรกรที่จะใช้อ้อยพันธุ์ดีในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้น     

นายดำรงค์ จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า อ้อยพันธุ์ใหม่ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี ปรับปรุงพันธุ์ประสบผลสำเร็จและ คณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช ได้พิจารณาประกาศเป็นพันธุ์แนะนำในปี 2556 นี้ มี 2 พันธุ์ ได้แก่ อ้อยพันธุ์อู่ทอง 84-12 (U-Thong 84-12) และ พันธุ์อู่ทอง 84-13  (U-Thong 84-13) ถือเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตน้ำหนักและผลผลิตน้ำตาลสูง สำหรับอ้อยพันธุ์อู่ทอง 84-12 เดิมชื่อ อ้อยโคลน 02-2-477 เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์แม่สุพรรณบุรี 80 กับพันธุ์พ่ออู่ทอง 3 โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรีได้ทำการปรับปรุงพันธุ์มาตั้งแต่ปี 2545 จากนั้นได้ปลูกเปรียบเทียบเบื้องต้น และปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์มาตรฐาน แล้วปลูกทดสอบในไร่เกษตรกรพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี และเพชรบุรีด้วย

อ้อยพันธุ์อู่ทอง 84-12 มีลักษณะเด่น คือ ปลูกในเขตชลประทาน หรือเขตที่มีน้ำเสริม ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 16.92 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 ร้อยละ 19 และสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 20 หากเกษตรกรมีระบบการจัดการที่ดีจะให้ผลผลิตสูงถึง 20-25 ตันต่อไร่ นอกจากนั้น อ้อยพันธุ์อู่ทอง 84-12 ยังให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย  2.40  ตันซีซีเอสต่อไร่  สูงกว่าพันธุ์  K 84-200 ร้อยละ 17 และสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 24  และให้ความหวาน เฉลี่ย 14.21 ซีซีเอส 

ส่วนอ้อย พันธุ์อู่ทอง 84-13 เดิมชื่อ อ้อยโคลน 03-2-287 เป็นลูกผสมย้อนกลับชั่วที่ 3 ของ Saccharum spontaneum กับพันธุ์พ่ออู่ทอง 8 มีลักษณะเด่น คือ ปลูกในเขตใช้น้ำฝน ให้น้ำหนักเฉลี่ย 14.30 ตันต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ K 84-200 ร้อยละ 34 และสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 45  ขณะที่ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 1.99 ตันซีซีเอสต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 ร้อยละ 32 และสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 42  อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการปลูกอ้อยพันธุ์นี้ในพื้นที่ที่น้ำขังและน้ำมาก เพราะเจริญเติบโตเร็วมาก จะทำให้ล้มและไม่ควรปลูกในแหล่งที่มีประวัติโรคเหี่ยวเน่าแดงและโรคแส้ดำระบาด

 จากการทดสอบความพึงพอใจของเกษตรกรต่ออ้อยพันธุ์อู่ทอง 84-12 และพันธุ์อู่ทอง 84-13 พบว่า เกษตรกรพึงพอใจมาก ขณะนี้ชาวไร่อ้อยในหลายพื้นที่เริ่มใช้อ้อยพันธุ์ใหม่ทั้งสองพันธุ์ไปปลูกแล้ว อาทิ จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี นครสวรรค์ พิจิตร  กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์  อุทัยธานี และบางจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะเดียวกันโรงงานผลิตน้ำตาล หลายแห่งยังพึงพอใจในคุณภาพของอ้อยพันธุ์ใหม่นี้ ซึ่งได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรเครือข่ายปลูกเพื่อป้อนผลผลิตเข้าสู่โรงงานด้วย

 กรมวิชาการเกษตรได้มอบหมายให้ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี เร่งเตรียมท่อนพันธุ์เพื่อรองรับความต้องการของชาวไร่อ้อยที่สนใจใช้พันธุ์ โดยศูนย์ฯได้ขยายแปลงผลิตพันธุ์อ้อยอู่ทอง 84-12 และอ้อยอู่ทอง 84-13 รวมประมาณ 20 ไร่ สามารถใช้ปลูกขยายได้กว่า 200 ไร่ กำหนดราคาจำหน่ายท่อนพันธุ์ ลำละ 1 บาท (ประมาณ 4-5 ท่อน) ซึ่งเกษตรกรสามารถเลือกใช้พันธุ์ไปปลูกเพื่อป้อนผลผลิตเข้าสู่โรงงานน้ำตาลได้

 อย่างไรก็ตาม หากสนใจอ้อยพันธุ์ใหม่ ?พันธุ์อู่ทอง 84-12? และ ?พันธุ์อู่ทอง 84-13? สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี โทร. 0-3555-1543, 0-3555-1433 และ 0-3556-4863.อ้อย2พันธุ์ใหม่...เหมาะป้อนโรงงานน้ำตาล

http://www.dailynews.co.th/agriculture/186941
อู่ทอง9อู่ทอง 10

                  อู่ทอง 9                                                              อู่ทอง 10
เดลินิวส์ วันจันท
ร์ ที่ 21 ธันวาคม 2552

'อ้อยพืชอุตสาหกรรมสำคัญชนิดหนึ่งของไทย โดยเฉพาะการใช้เป็นวัตถุดิบผลิตน้ำตาลซึ่งสามารถทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายหมื่นล้านบาท  แต่ที่ผ่านมาผลผลิตอ้อยของเกษตรกรยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เฉลี่ย 11-12 ตันต่อไร่ เนื่องจากมีการใช้พันธุ์อ้อยแต่ละพันธุ์ค่อนข้างนาน ประมาณ 6-10 ปี ขณะเดียวกันยังประสบปัญหาเรื่องโรคและแมลงศัตรูพืช  ทั้งยังขาดแคลนพันธุ์ที่เหมาะสมในแต่ละท้องถิ่น และขาดการจัดการไร่อ้อยที่ดีตลอด จนมีปัญหาสภาพดินและน้ำที่อ้อยได้รับในแต่ละแหล่งปลูกแตกต่างกันด้วย 
   
กรมวิชาการเกษตรมีการวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้พันธุ์ที่เหมาะสมในแต่ละแหล่งปลูกทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่เกษตรกรในการใช้อ้อยพันธุ์ดีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น
   
...และปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้ปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์อ้อยประสบความสำเร็จอีกหนึ่งสายพันธุ์ คือ พันธุ์ อู่ทอง 9” อนาคตคาดว่า จะเป็นทางเลือกใหม่สำหรับเกษตรกรชาวไร่อ้อยในการนำพันธุ์ไปปลูก เพื่อสร้างอาชีพและเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว...
   
อ้อยพันธุ์อู่ทอง 9 นี้ นักวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี ได้เริ่มปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์ตามหลักวิชาการมาตั้งแต่ปี 2542 มีการปลูกทดสอบพันธุ์ในไร่เกษตรกร อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี, อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี, อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี และ อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร พบว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจในอ้อยพันธุ์อู่ทอง 9 เนื่องจากให้ผลผลิตต่อไร่และผลผลิต น้ำตาลสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นอ้อยพันธุ์ใหม่ที่โรงงานน้ำตาลมีความต้องการสูง
       
ด้าน นายอุดม เลียบวัน นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี หัวหน้าทีมนักวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยอู่ทอง 9 กล่าวว่า อ้อยพันธุ์นี้มีลักษณะเด่นที่ให้ผลผลิตน้ำหนักสูง เฉลี่ย 17.50 ตันต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์  K84-200 ที่ให้ผลผลิต 11.19 ตันต่อไร่  และยังสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 14.25 ตันต่อไร่ นอกจากนั้นอ้อยอู่ทอง 9 ยังให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ยถึง 2.45 ตันซีซีเอสต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ K84-200 ที่ให้ผลผลิตน้ำตาล 1.56 ตันซีซีเอสต่อไร่ และสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง  3  ที่ให้ผลผลิตน้ำตาล 2.04 ตันซีซีเอสต่อไร่ ที่สำคัญอ้อยอู่ทอง 9 ยังสามารถต้านทานโรคเหี่ยวเน่าแดงดีกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ด้วย
   
เมื่อโตเต็มที่อ้อยอู่ทอง 9 มีความสูงเฉลี่ย 226 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำ 2.76 เซนติเมตร ได้จำนวนลำเฉลี่ย 11,762 ลำต่อไร่ จำนวนปล้องเฉลี่ย 21 ปล้องต่อลำ มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 11-12 เดือน และมีความหวาน 14 ซีซีเอส ขณะที่พันธุ์ K84-200 มีจำนวนลำเฉลี่ย  8,663 ลำต่อไร่ และพันธุ์อู่ทอง 3 มีจำนวนลำเฉลี่ย  9,034 ลำต่อไร่
   
ล่าสุดกรมวิชาการเกษตรได้ประกาศให้พันธุ์อ้อยอู่ทอง 9 (U-Thong 9) เป็นพันธุ์รับรองของกรมวิชาการเกษตรแล้ว
   
สำหรับพื้นที่แนะนำที่มีความเหมาะสมจะปลูกอ้อยอู่ทอง 9 นั้น ควรเป็นพื้นที่ในเขตชลประทาน อาทิ จ.สุพรรณบุรี  กาญจนบุรี เพชรบุรี และกำแพงเพชร เป็นต้น อีกทั้งยังมี ข้อควรระวัง คือ เกษตรกรควรลอกกาบอ้อยออกก่อนปลูก เพราะอ้อยพันธุ์ นี้มีกาบแน่น ยอดอ้อยจะงอกผ่านกาบใบยาก ซึ่งถ้าไม่ลอกกาบก่อนปลูกจะทำให้งอกช้า
   
หากเกษตรกรสนใจข้อมูลเกี่ยวกับอ้อยพันธุ์ อู่ทอง 9” สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-3555-1433.
ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

Sue
 
Sue [68.202.141.xxx] เมื่อ 6/03/2020 12:09
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :